เกี่ยวกับAiwaiw

รูปภาพของฉัน
น่ารัก,สนุกสนาน,ร่าเริง

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ





การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ โดย นายแพทย์ปริญญา สากิยลักษณ์ และคนอื่นๆ
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 20

การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ คือการผ่าตัดใส่หัวใจใหม่ เข้าไปในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจระยะสุดท้าย เพื่อใช้ทำงานแทนหัวใจเดิม ที่นิยมทำ ในปัจจุบัน คือใช้หัวใจของผู้ที่เสียชีวิตใหม่ๆ นำมาผ่าตัดใส่เข้าไปแทนที่หัวใจเดิมของผู้ป่วยทำสำเร็จเป็นครั้งแรกโดย นายแพทย์คริสเตียน เบอร์นาร์ด (Christian Bernard) ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๖๗ ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๖๘ มีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป และเอเชีย การผ่าตัดในระยะแรกๆ ได้ผลไม่ดี เพราะขณะนั้นยังไม่มียากดภูมิคุ้มกันที่ดี จำเป็นต้องใช้ยาพวกสเตียรอยด์ ซึ่งมีผลข้างเคียงมาก ผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนภายใน ๑-๒ ปี หลังการผ่าตัดการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจจึงซบเซาไประยะหนึ่ง

ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๘๐ มีผู้ค้นพบยาไซโคลสปอริน ซึ่งเป็นยากดภูมิคุ้มกันที่ดี มีผลข้างเคียงน้อย ทำให้การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจได้ผลดีขึ้น จึงมีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมากขึ้น ปัจจุบันถือว่าการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐานไม่ใช่การทดลอง ปีหนึ่งๆ มีผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจประมาณ ๓,๐๐๐ ราย จากศูนย์การแพทย์ทั่วโลก ประมาณ ๒๐๐ แห่ง

โรคหัวใจที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ได้แก่โรคกล้ามเนื้อหัวใจโป่งพองโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคลิ้นหัวใจพิการระยะสุดท้าย โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิด ผู้ที่จะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการพิจารณาว่าไม่มีวิธีอื่นใดแล้ว และส่วนมากจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน ๑ ปี ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ปกติจะเลือกผู้ที่มีอายุไม่เกิน ๖๐ ปี ไม่มีโรคติดเชื้อหรือโรคมะเร็งของอวัยวะต่างๆ ไม่มีโรคความ

ดันโลหิตสูงในปอด ที่สำคัญมีความเข้าใจในขบวนการผ่าตัด และยินดีที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หัวใจที่จะนำมาใช้ต้องได้จากผู้ที่เสียชีวิตใหม่ๆ โดยอุบัติเหตุหรือโรคทางสมองที่มีการทำลายของแกนสมองจนสมองตายแล้ว มีอายุไม่เกิน ๔๕ ปี มีหมู่เลือดเดียวกับผู้ป่วย ไม่มีโรคหรือความผิดปกติทางหัวใจ และได้รับอนุญาตจากผู้ตาย หรือญาติของผู้ตายบริจาคให้

ขั้นตอนการผ่าตัดคือ นำผู้ป่วยสมองตายเข้าห้องผ่าตัด แล้วผ่าตัดเอาหัวใจออกมาแช่ในน้ำเกลือเย็นจัด จากนั้นเริ่มผ่าตัดผู้ป่วยที่จะเป็นผู้รับการเปลี่ยนหัวใจ โดยต่อเข้ากับเครื่องหัวใจและปอดเทียมชั่วคราว ตัดเอาหัวใจที่พิการออกแล้วเอาหัวใจที่ตัดเตรียมไว้ใส่แทน การผ่าตัดชนิดนี้ทำเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ นับถึงปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยประมาณ ๗๐ คน ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ผู้ป่วยรายแรกยังมีชีวิตอยู่อย่างแข็งแรง ๗ ปี ภายหลังการผ่าตัด การติดตามระยะยาวปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีอัตรารอดเกิน ๕ ปี ประมาณร้อยละ ๗๐

อุปสรรคสำคัญของการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจก็คือ มีหัวใจบริจาคไม่เพียงพอกับความต้องการเคยมีผู้คำนวณไว้ว่าในปีหนึ่งๆ น่าจะมีผู้เสียชีวิตโดยแกนสมองตายประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แต่ได้หัวใจบริจาคเพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้นอีกร้อยละ ๙๐ ต้องเสียเปล่า ประกอบกับมีผู้ที่ต้องการหัวใจรออยู่เป็นจำนวนมาก จนผู้ที่รอไม่ได้ถึงแก่กรรมก่อนที่จะได้รับหัวใจ จึงมีความพยายามที่จะใช้หัวใจเทียมชนิดสารสงเคราะห์ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีหัวใจเทียมที่ได้ผลดีทัดเทียมหัวใจที่ได้จากผู้ถึงแก่กรรมใหม่ๆ นอกจากนั้นก็มีการทดลองใช้หัวใจจากสัตว์ เช่น ลิง แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องปฏิกิริยาต่อต้านของร่างกายได้ จึงยังเป็นเพียงขั้นทดลองเท่านั้น

แหล่งอ้างอิง  :  http://www.kroobannok.com/17752

คลื่นความร้อนหรือ "ฮีทเวฟ" (Heat wave)


คลื่นความร้อนหรือ "ฮีทเวฟ" (Heat wave) หมายถึง อากาศร้อนจัดที่สะสมอยู่พื้นที่บริเวณหนึ่ง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
"แบบสะสมความร้อน" เกิดในพื้นที่ซึ่งสะสมความร้อนเป็นเวลานาน อากาศแห้ง ลมนิ่ง ทำให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่เคลื่อนที่ เมื่ออุณหภูมิร้อนสะสมหลายวันจะเกิดคลื่นความร้อนมากขึ้นเช่น หากพื้นที่ไหนมีอุณหภูมิ 38-41 องศา แล้วไม่มีลมพัดต่อเนื่อง 3-6 วัน ไอร้อนจะสะสมจนกลายเป็นคลื่นความร้อน มักเกิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ ฯลฯ

ชนิดที่ 2 คือ “แบบพัดพาความร้อน” มักเกิดขึ้นแถวทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คลื่นความร้อนชนิดนี้เกิดจากลมแรงหอบความร้อนจากทะเลทรายขึ้นไปในเขตหนาว มักเกิดในยุโรป แคนาดาตอนใต้ ฯลฯ

แหล่งอ้างอิง :  http://www.kroobannok.com/35202

มหัศจรรย์ร่างกาย ที่คุณอาจไม่เคยรู้


        ทุกคนล้วนแล้วแต่เคยสงสัยเกี่ยวกับกลไก และระบบต่าง ๆ ที่ก่อร่างสร้างร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ หากแต่ไม่เคยไขข้อข้องใจ วันนี้จะนำคำตอบเกี่ยวกับปริศนาลึกลับที่แฝงเร้นอยู่ในทุกอณูของเรือนกายมาเปิดเผยให้ทราบ....  เชื่อได้เลยว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของเรื่องราวที่นำมาฝากกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่คุณยังไม่เคยรู้ และทึ่งที่ได้รู้
       
-ยิ่งมีลูกมาก โอกาสที่ลูกจะเป็นผู้ชายยิ่งน้อยลง

-พิสูจน์กันหลายครั้งหลายหนแล้วว่า แม่จะพูดกับทารกหญิงมากกว่าทารกชาย

-มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่ปวดศีรษะ

-หลังจากที่ถูกตัดคอ คุณจะมีสติอยู่ได้อีกราว 1-2 วินาที เพียงพอที่จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น

-นักวิทยาศาสตร์บางท่านนั่งยัน นอนยันว่า อาการหน้าแดงมีแนวโน้มมาจากกรรมพันธุ์

-รู้ไหมว่า เวลาที่เขินหรืออึดอัด ซึ่งทำให้ใครบางคนหน้าแดงนั้น อาจทำให้คนอื่น ๆ หน้าซีดเผือดได้


-การพิสูจน์ความรักจากรูม่านตาที่เบิกกว้าง ใช้ไม่ได้ผล เพราะเวลาที่มองใครด้วยความเกลียดชัง    รูม่านตาก็เบิกกว้างเช่นกัน

-ร้องไห้เยอะ ๆ นั่นแหละดี เพราะจะช่วยป้องกันอาการปวดศีรษะ เป็นลมพิษ และอาจรวมไปถึงหัวใจวายด้วย

-ยิ่งคุณหมกมุ่น คุณจะยิ่งกระพริบตาถี่ขึ้น

-ที่เรามีรูจมูก 2 ข้าง เพราะปอดแต่ละข้างของเราใช้งานรูจมูกแยกกัน

-25% ของผู้สูญเสียประสาทรับกลิ่น จะสูญเสียแรงขับทางเพศไปด้วย

-ไซนัสเป็นตัวการที่ทำให้เสียงของคุณ กับเสียงของคนอื่น ๆ ไม่เหมือนกัน

-คุณไม่สามารถหาว ระหว่างที่หลับสนิทได้

-ไม่มีคุณผู้หญิงคนไหนหุบปาก เวลาปัดคาสมาร่า

-มีหลากวิธีที่ทำให้หายสะอึก หนึ่งในนั้นคือ การนำของที่เย็นจัดอย่างก้อนน้ำแข็ง กระป๋อง หรือขวดน้ำอัดลมแช่เย็นจัด ประคบลำ


-คอข้างลูกกระเดือก ความเย็นจะกระตุ้นให้กระบังลมหดเกร็ง

-แพทย์ผิวหนังบางท่านลงความเห็นว่า การนอนหลับด้วยท่าคว่ำหน้า จะทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น

-มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียว ที่ไม่มีสีที่ฝ่ามือ

-อย่าต่อว่า หากได้กลิ่นเท้าของลูก ๆ เพราะอาการ "เท้าเหม็น" มาจากกรรมพันธุ์

-มีข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่า ไม่ใช่ผู้ชายเท่านั้นที่ชอบผู้หญิงผมทอง ยุงก็ชอบคนผมทองเช่นกัน

-การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน ทำให้ขนหน้าอกผู้ชายหลุดร่วง

-ถ้าอยากรู้ความกว้างของมือ ก็ให้วัดจากความยาวของนิ้วกลาง

-หน่วย ฟุต ที่เท่ากับ 12 นิ้วนั้น มาจากการวัดความยาวพระบาทของพระเจ้าชาร์เลอมาญ

-มีผู้รู้บอกไว้ว่า อาการเคล็ดขัดยอกจะหายเร็วขึ้น หากคุณไม่บริโภคเกลือ ฯลฯ


แหล่งอ้างอิง :  http://www.kroobannok.com/blog/41337

หลุมดำ

     หลุมดำ "black hole" หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก (ไม่ได้เป็น "หลุม" อย่างชื่อ) ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon) ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ (Schwarzchild radius) ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป เมื่อดาวฤกษ์ที่ มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่นักดาราศาสตร์ก็มีวิธีอื่นในการค้นหา และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือ เป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า เอกภาวะ (singularity) หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร หลุมดำขนาดกลาง หลุมดำจากดาวฤกษ์ที่เกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์ และ หลุมดำจิ๋ว หรือ หลุมดำเชิงควอนตัม แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นภายในหลุมดำได้ แต่ตัวมันก็แสดงการมีอยู่ผ่านการมีผลกระทบกับวัตถุที่อยู่ในวงโคจรภายนอกขอบ ฟ้าเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น หลุมดำอาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยการติดตามกลุ่มดาวที่โคจรอยู่ภายในศูนย์กลาง หลุมดำ หรืออาจมีการสังเกตก๊าซ (จากดาวข้างเคียง) ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่หลุมดำ ก๊าซจะม้วนตัวเข้าสู่ภายใน และจะร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิสูง ๆ และปลดปล่อยรังสีขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจจับได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่โคจรอยู่ รอบโลก การสำรวจให้ผลในทางวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าหลุมดำนั้นมีอยู่จริงในเอกภพ แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาซ ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้ ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นเอกภาวะที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง (Hawking radiation) และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม


แหล่งอ้างอิง  :   http://atcloud.com/stories/57357

เราคำนวณอายุโลกอย่างไร


           การสร้างโลกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 22 ตุลาคม ในปี 4004 ปีก่อนคริสตกาล นักบวชชาวไอริช อาร์ชบิชอป เจมส์ อัชเชอร์ ได้คำนวนการกำเนิดของโลก ไว้เมื่อกลางศตวรรษที่ 17 และหลังจากการศึกษายุคสมัยของ อาร์ชบิชอปองค์ต่างๆ ตลอดจนการสืบทอดตระกูล อันยาวนานจากพระคัมภีร์ไบเบิลเก่า
  ใน ค.ศ. 1785 นักธรรมชาติวิทยาชาวสก็อตชื่อ เจมส์ ฮัตตัน โต้แย้งความเชื่อดั้งเดิมนี้ ว่าการก่อตัวของขุนเขา และการผุกร่อนของท้องแม่น้ำ คงต้องใช้เวลานานเป็นล้านๆปี ไม่ใช่แค่พันๆปี
         ข้อโต้แย้งดังกล่าวยังหาข้อสรุปไม่ได้ จนเมื่อนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส อองตวน อองรี เบกเกอเรล ค้นพบกัมมันตภาพรังสีในปี ค.ศ. 1896 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเราจึงคำนวนอายุโลกได้อย่างถูกต้อง
         ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่าเปลือกโลกแข็งตัวในราว 4700 ล้านปีก่อน โดยคำนวนได้จากการสลายตัวของแร่กัมมันตรังสี
        เมื่อหินหลอมละลายหรือลาวา (Lava) เย็นตัวลง และกลายเป็นหินแข็งนั้น จะมีธาตุกัมมันตรังสีถูกกักไว้ในหิน ธาตุเหล่านี้สลายตัวในอัตราที่แน่นอน ระยะเวลาที่กัมมันตรังสีสลายตัวไปครึ่งหนึ่งนั้น นักวิมยาศาสตร์ให้คำจำกัดความว่า "ครึ่งชีวิต" มีการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดเพื่อกำหนด ครึ่งชีวิตของธาตุแต่ละชีวิต โดยการวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่มีในหินตัวอย่าง กระบวนการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี จึงเป็นเหมือนนาฬิกา ซึ่งเริ่มเดินเมื่อหินก้อนนั้นก่อตัวขึ้น
        ปริมาณของธาตุกัมมันตภาพรังสีที่เหลืออยู่ในหินนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณดั้งเดิมที่มีอยู่ แต่สิ่งสำคัญก็คือการคำนวนอัตตราส่วนปริมาณของสารกัมมันตรังสี กับปริมาณของสารที่แปรสภาพไปในหินนั้น ยิ่งหินมีอายุมากขึ้น สารกัมมันตภาพรังสีก็ยิ่งน้อยลง และอัตราส่วนของสารในหินที่แปรสภาพไปจะเพิ่มขึ้น
ในการตรวจสอบอายุของหินตัวอย่าง เราใช้วิธีคำนวนเวลาได้หลายวิธีด้วยกัน โดยวิธีที่ใช้กันทั่วๆไป คืกการคำนวนจากการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสีโพแทสเซี่ยม -40 ซึ่งมีกระบวนการครึ่งชีวิตประมาณ 11900 ล้านปี หรืออาจจะคำนวนจากการสลายตัวของยูเรเนียมเป็นตระกั่ว (ครึ่งชีวิตเท่ากับ 4500 ล้านปี)
         ในการคำนวนอายุของโลก ปรากฎว่าประมาณครึ่งหนึ่งของยูเรเนียมที่มีมาแต่แรกเริ่ม ได้สลายตัวเป็นตระกั่วไปแล้วดังนั้นอายุของโลกก็จะประมาณ ครึ่งชีวิตของยูเรเนียม หรือราว 4500 ล้านปี.

แหล่งอ้างอิง  :  http://atcloud.com/stories/58504

นาซ่าเผยภาพโลกแบบ true color ที่ให้รายละเอียดมากที่สุด‏


     นักวิทยาศาสตร์องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือองค์การนาซ่า ปล่อยภาพถ่ายดาวเทียม “โลก” ในแบบ true color ที่ให้รายละเอียด ชัดเจนมากที่สุดในประวัติศาสตร์
ภาพโลกขนาดใหญ่ยักษ์และชัดแจ่มแจ๋วที่ “บีเอสเอ็นนิวส์″ นำมาให้ชมกันในวันนี้มีชื่อว่า “บลู มาร์เบิ้ล” (blue marble) ซึ่งองค์การนาซ่าปล่อยออกมาให้ชาวโลกได้ชมกันชัดๆ ว่าบ้านของพวกเรานั้นงดงามและน่าอยู่เพียงใด


ภาพดังกล่าวถูกส่งมาจากอุปกรณ์บันทึกภาพ ที่มีชื่อว่า MODIS (Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer) ซึ่งถูกติดตั้งอยู่บนดาวเทียมสังเกตการณ์ “เทอร์ร่า” ที่ลอยอยู่เหนือพื้นผิวโลกประมาณ 435 ไมล์ (ราว 700 ก.ม.) แต่กว่าจะได้ภาพถ่ายที่สวยตะลึงอย่างนี้ขอบอกว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความจริงแล้วภาพที่ได้มานั้น ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของโลกนับพันนับหมื่นภาพ อาทิ ภาพภาคพื้นดิน มหาสมุทร แนวชายฝั่ง ธารน้ำแข็ง  เมฆ ฯลฯ

แหล่งอ้างอิง  :  http://atcloud.com/stories/84857